|
ผู้แต่ง |
ลีลา ธุวานนท์ | ชื่อเรื่อง |
ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาศิลปวิจักษณ์ตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี / ลีลา ธุวานนท์, วัจนา สุคนธวัฒน์ และฐิติวรรณ โยธาทัย | พิมพ์ลักษณ์ |
2551 | เลขเรียก |
วจ ล511ป c2551 | ลักษณะทางกายภาพ |
0126 หน้า, | หมายเหตุ |
รายงานการวิจัยได้รับทุนอุดหนุนจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี , 2551 | หมายเหตุ |
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Reserch) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี ในวิชาศิลปวิจักษณ์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 รุ่น 15 ที่เรียนวิชาศิลปวิจักษณ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 จำนวน 90 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1)แบบวัดความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาศิลปวิจักษณ์ 2) แบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาศิลปวิจักษณ์ 3) แบบประเมินสมรรถนะบัณฑิตที่พึงประสงค์ และ 4)ข้อคำถามปลายเปิดเกี่ยวกับความรู้สึกของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาศิลปวิจักษณ์ แบบสอบถามส่วนที่ 1 และ 2 เป็นแบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นโดย ดาราพร คงจา และ ฤทัยรัตน์ ชิดมงคล (2547) ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.94 และ 0.93 ตามลำดับ แบบสอบถามส่วนที่ 3 และ 4 ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแปลผลคะแนนเป็นระดับ ข้อมูลในการเปรียบเทียบใช้ paired T-test ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพนำมาวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. ความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี วิชาศิลปวิจักษณ์ พบว่าค่าเฉลี่ยความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี วิชาศิลปวิจักษณ์ในภาพรวมอยู่ในระดับดี (X = 3.96, S.D.= 0.57) เมื่อพิจารณาตามตัวบ่งชี้พบว่า ตัวบ่งชี้ที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ผู้เรียนได้ฝึกคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงามของสังคมและความเอื้ออาทร (X = 4.23, S.D.= 0.79) รองลงมาคือ ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน (X = 4.02, S.D.= 0.83) และผู้เรียนได้ชี้นำการเรียนรู้ของตนเองและศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (X = 4.00, S.D.= 0.75) ตามลำดับ ส่วนตัวบ่งชี้ที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ผู้เรียนได้สร้างหรือตรวจสอบความรู้ความเข้าใจในสาระการเรียนรู้ (X = 3.73, S.D.= 0.78)2. ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน พบว่า ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี วิชาศิลปวิจักษณ์ในภาพรวมอยู่ในระดับดี (X = 3.95, S.D.= 0.67) เมื่อพิจารณาตามตัวบ่งชี้พบว่า ตัวบ่งชี้ที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยใช้การประเมินตามสภาพจริง(X = 4.28, S.D.= 0.84) รองลงมาคือ ผู้เรียนได้เรียนรู้จากปัญหาหรือสถานการณ์ที่สอดคล้องกับสภาพการณ์จริง (X = 4.04, S.D.= 0.85) และผู้เรียนได้ฝึกคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงามของ สังคมและความเอื้ออาทร (X = 4.01, S.D.= 0.79) ตามลำดับ ส่วนตัวบ่งชี้ที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ผู้เรียนได้สร้างหรือตรวจสอบความรู้ความเข้าใจในสาระการเรียนรู้ (X = 3.69, S.D.= 0.87) 3. สมรรถนะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี พบว่าค่าเฉลี่ยสมรรถนะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี หลังเรียนมากกว่าก่อนเรียนในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสมรรถนะที่พึงประสงค์จำแนกรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ย สมรรถนะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานีหลังเรียนมากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ฉันเป็นคนที่มีความรับผิดชอบต่อตนเองและงานที่ทำ ฉันเปิดใจกว้างและเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล ฉันเป็นคนยืดหยุ่นและยอมรับผู้อื่นได้ ฉันชอบช่วยเหลือผู้อื่นและอุทิศตนเพื่อส่วนรวม และฉันเป็นคนช่างคิดและมีเหตุผล (p < 0.05) | หัวเรื่อง |
นักศึกษาพยาบาล--การเรียนการสอน | หัวเรื่อง |
วิชาศิลปวิจักษณ์ | หัวเรื่อง |
การปฏิรูปการเรียนรู้ | หัวเรื่อง |
วิจัย | ผู้แต่งนิติบุคคล |
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี. สถาบันพระบรมราชชนก. สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข |
|