ผู้แต่ง |
วีรติ พงษ์ทิพย์พัฒน์ |
ชื่อเรื่อง |
การศึกษาบุคลิกภาพของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1 รุ่น 17 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี ด้วยแบบทดสอบบุคลิกภาพ 16PF / วีรติ พงษ์ทิพย์พัฒน์ |
พิมพ์ลักษณ์ |
2552 |
เลขเรียก |
วจ ว821ก |
ลักษณะทางกายภาพ |
113, |
หมายเหตุ |
รายงานการวิจัยได้รับทุนอุดหนุนจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี , 2552 |
หมายเหตุ |
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบุคลิกภาพของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 รุ่น 17 วิทยาลัยพยาบาลบรม ราชชนนี อุดรธานี ด้วยแบบทดสอบบุคลิกภาพ 16 PF วิเคราะห์เป็นรายองค์ประกอบตาม Primary Factors และ Second Order Factors จำแนกตาม อาชีพของผู้ปกครอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 รุ่น17 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี ปีการศึกษา 2551 จำนวน 135 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยบุคลิกภาพระหว่างกลุ่มตัวแปรโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทิศทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) และเปรียบเทียบเป็นรายคู่ (Multiple Comparison Test) ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe) ผลการวิจัยพบว่า1. นักศึกษามีบุคลิกภาพจากแบบทดสอบบุคลิกภาพ 16 PF วิเคราะห์เป็นรายองค์ประกอบตาม Primary Factors โดยมีลักษณะบุคลิกภาพที่เด่นชัดใน 4 ด้าน ได้แก่ องค์ประกอบด้านการเข้าสังคม (Warmth) (A) พบว่า มีคะแนนในเกณฑ์เฉลี่ย ( X = 6.45, S.D. = 1.78) องค์ประกอบด้านด้านเชาวน์ปัญญา (B) พบว่า มีคะแนนในเกณฑ์เฉลี่ย (X = 5.12, S.D. = 1.59) องค์ประกอบด้านการด้านการมีอิสระทางความคิด (Rebelliousness) (Q1 ) พบว่า มีคะแนนในเกณฑ์เฉลี่ย (X = 4.56, S.D. = 3.14) และองค์ประกอบด้านการจินตนาการ (Imagination) (M) พบว่า มีคะแนนในเกณฑ์เฉลี่ย 2. นักศึกษามีบุคลิกภาพตาม Second Order Factors ใน 8 องค์ประกอบย่อยได้แก่ ด้านการกล้าแสดงออก (Extraversion) ความวิตกกังวล (Anxiety) จิตใจเข้มแข็ง (Tough Poise) การเป็นตัวของตัวเอง (Independent) การควบคุมตน (Control) การปรับตัว (Adjustment) การเป็นผู้นำ (Leadership) และการมีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) คะแนนในเกณฑ์เฉลี่ยของบุคลิกภาพอยู่ในระดับปานกลาง 3. นักศึกษาที่ผู้ปกครองมีอาชีพต่างกันมีบุคลิกภาพแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พบว่า นักศึกษาที่ผู้ปกครองมีอาชีพค้าขายจะมีบุคลิกภาพในองค์ประกอบด้านการเผชิญ(H) สูงกว่านักศึกษาที่ผู้ปกครองมีอาชีพรับราชการหรือรัฐวิสาหกิจ และนักศึกษาที่ผู้ปกครองมีอาชีพรับราชการหรือรัฐวิสาหกิจจะมีบุคลิกภาพในองค์ประกอบด้านการใช้อำนาจ (Dominance) (E) สูงกว่านักศึกษาที่ผู้ปกครองมีอาชีพค้าขาย |
หัวเรื่อง |
บุคลิกภาพ--นักศึกษาพยาบาล |
หัวเรื่อง |
นักศึกษาพยาบาล--บุคลิกภาพ |
หัวเรื่อง |
แบบทดสอบบุคลิกภาพ |
ผู้แต่งนิติบุคคล |
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี. สถาบันพระบรมราชชนก. สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข |