ห้องสมุด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
ห้องสมุด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
Boromarajonani College of Nursing, Udonthani
เปลี่ยนเป็นภาษาไทย

Change to English
 สืบค้นข้อมูล
  กลับหน้าหลัก
คำค้น:
พบจำนวน 1 รายการ
 ค้นหา หัวเรื่อง สตรีหลังคลอด

แสดงผลการสืบค้นที่พบ 1 รายการ

Marc Display
 ผู้แต่ง  ปิยะนุช พรหมสาขา ณ สกลนคร
 ชื่อเรื่อง 
ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพขณะตั้งครรภ์ของสตรีหลังคลอดกับน้ำหนักตัวทารกแรกเกิด / ปิยะนุช พรหมสาขา ณ สกลนคร
 พิมพ์ลักษณ์  2553
 เลขเรียก  วจ ป621ค
 ลักษณะทางกายภาพ  064
 หมายเหตุ  รายงานการวิจัยได้รับทุนอุดหนุนจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี , 2553
 หมายเหตุ  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlation research) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพขณะตั้งครรภ์ของสตรีหลังคลอดกับน้ำหนักตัวทารกแรกเกิดที่คลอดในโรงพยาบาลอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังคลอดที่คลอดและ พักฟื้นที่ตึกสูติกรรม 2 โรงพยาบาลอุดรธานี จำนวน 300 คน ซึ่งเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเครื่องมือ คือ แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพขณะตั้งครรภ์ของมารดาหลังคลอด ที่ประยุกต์มาจากเครื่องมือของ กิ่งกาญจน์ นนท์ประเสริฐและคณะ(2550) ได้รับการตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ตรวจสอบความเที่ยงโดยการ try out กลุ่มตัวอย่าง 30 คน หาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.77 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ (Percentage),ค่าเฉลี่ย (Mean), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation), สถิติสเปียร์แมน (Spearman rank-order correlation coefficient), สถิติไคสแควร์ (Chi - Square), ค่าสัมประสิทธิ์การจรณ์(Contingency coefficient) ผลการวิจัย พบว่า 1. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพขณะตั้งครรภ์ของกลุ่มตัวอย่างโดยรวมและจำแนกรายด้านอยู่ในระดับค่อนข้างดี 2. ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านอายุ อายุครรภ์ก่อนคลอด และน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ มีความสัมพันธ์กับน้ำหนักตัวทารกแรกเกิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนจำนวนครั้งของการตั้งครรภ์และการเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ มีความสัมพันธ์กับน้ำหนักตัวทารกแรกเกิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยด้านระดับการศึกษา อาชีพ ความเพียงพอของรายได้ การวางแผนการตั้งครรภ์ จำนวนครั้งของการฝากครรภ์และจำนวนครั้งของการได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ไม่มีความสัมพันธ์กับน้ำหนักตัวทารกแรกเกิด 3. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพขณะตั้งครรภ์ของกลุ่มตัวอย่างโดยรวมไม่มีความสัมพันธ์กับน้ำหนักตัวทารกแรกเกิด แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นมีความสัมพันธ์ทางบวกกับน้ำหนักตัวทารกแรกเกิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในระดับต่ำ (r = 0.15) ส่วนด้านอื่นๆไม่พบว่ามีความสัมพันธ์ทางบวกกับน้ำหนักตัวทารกแรกเกิด
 หัวเรื่อง  ครรภ์--การดูแล
 หัวเรื่อง  ทารก--การดูแล
 หัวเรื่อง  สตรีหลังคลอด
 หัวเรื่อง  วิจัย
 ผู้แต่งนิติบุคคล  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี. สถาบันพระบรมราชชนก. สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข
รายการนี้ยังไม่มีแท็ก
คุณยังไม่ได้ล็อกอิน คุณสามารถมีกิจกรรมร่วมกับเว็บไซต์ได้ แต่ต้องล็อกอินก่อน ::
  ล็อกอิน
ลำดับที่ ประเภท เลขเรียก/บาร์โค้ด สถานที่ สถานะ
1. งานวิจัย
งานวิจัย
วจ ป621ค 2553  
  Barcode: 34943
วิจัย On Shelf
2. งานวิจัย
งานวิจัย
วจ ป621ค 2553 ฉ.2 
  Barcode: 34944
วิจัย On Shelf
3. งานวิจัย
งานวิจัย
วจ ป621ค 2553 ฉ.3 
  Barcode: 34945
วิจัย On Shelf
   [แสดง 1/1 รายการ]




Bib 9273

 Union Library Management : ULibM
Copyright 2025. All Rights Reserved.